เซลล์ประสาท (neuron , nerve cell )

เซลล์ประสาท (neuron , nerve cell )


ร่างกายคนมีเซลล์ประสาท (nerve cell) หรือนิวรอน (neuron) จำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นพัน ๆ เซลล์ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่เซลล์ จำนวนมากสามารถทำงานเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณระหว่างสิ่งเร้าภายนอกและภายในร่างกายได้อย่างมีระบบ เซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วน คือ ตัวเซลล์ (cell body) และใยประสาท (nerve fiber)


ตัวเซลล์ (cell body) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียส ตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ4 - 25 ไมโครเมตร ภายในมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญ คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก


ใยประสาท (nerve fiber) ที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ใยประสาทนำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เรียกว่า แอกซอน (axon) เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะมีเดนไดรต์แยกจากตัวเซลล์หนึ่งใยหรือหลายใย ส่วนแอกซอนมีเพียงใยเดียวเท่านั้น



กรณีใยประสาทยาวซึ่งมักเป็นใยประสาทของแอกซอนจะมี เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) มาหุ้มใยประสาท เยื่อไมอีลินมีสารจำพวกลิพิดเป็นองค์ประกอบเมื่อตรวจดูภาพตัดขวางของเยื่อไมอีลินด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าเยื่อไมอีลินติดต่อกับเซลล์ชวันน์ (schwann cell) ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่งแสดงว่าเยื่อไมอีลินเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มของเซลล์ชวันน์ ส่วนของแอกซอนตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเรียกว่า โนดออฟแรนเวียร์ (node of Ranvier)

ระบบประสาทและไขสันหลัง

ระบบประสาทของคนและสัตว์มีกระดูกสันหลัง

มีระบบประสาทพัฒนามาก เซลล์เกือบทั้งหมดรวมกันอยู่ที่ส่วนหัว มีขนาดใหญ่ และเจริญเติบโต มีการพัฒนาไปเป็นสมอง ส่วนที่ทอดยาวตามลำตัวทางด้านหลัง เรียกว่า ไขสันหลัง (spinal cord) สมองและไขสันหลังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทโดยมีเส้นประสาทแยกออกมาจากสมองและไขสันหลัง

สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะที่ยังเป็นเอ็มบริโอมีลักษณะ เป็นหลอดกลวงเรียกว่า นิวรัลทิวบ์ (neural tube) ที่โป่งออก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง ซึ่งอยู่ก่อนไขสันหลัง ต่อมาสมองส่วนต่างๆโดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลังได้พัฒนาเป็นส่วนต่างๆ








การตอบสนองของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ

การตอบสนองของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ



พารามีเซียม พารามีเซียมมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสงสว่าง อาหาร อุณหภูมิโดยพารามีเซียมมีเส้นใย เชื่อมโยงระหว่างโคนซิเลีย เรียกว่า เส้นใยประสาทงาน (coordinating fiber) ทำหน้ารับความรู้สึกโดยนักวิทยาศาสตร์ทดลองตัดเส้นใยประสานงานของพารามีเซียมออก ผลคือจะทำให้พารามีเซียมไม่สามารถบังคับซีเลียได้




ฟองน้ำ ฟองน้ำมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเเต่ฟองน้ำไม่มีการประสานงานระหว่างเซลล์




ไฮดรา ไฮดรามีการตอบสนองจากสิ่งเร้าเนื่องจากไฮดรามีระบบกระเเสประสาทแบบ ร่างแหประสาท ทำให้เมื่อมีอะไรมากระทบจะทำให้ไฮดรารู้สึกทั้งร่างกาย เเล้วไฮดราจะตอบสนองโดยการขดตัว



พลานาเรีย เซลล์ประสาทรวมตัวเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะส่วนหัว เรียกว่า ปมประสาท (nerve ganglion) อาจเรียกว่า สมอง ( brain ) มีเส้นประสาทใหญ่ (nerve cord) ขนานไปตามด้านข้างจากหัวจรดท้ายในลักษณะขั้นบันได ( ladder type )เส้นประสาทเชื่อมโยงติดกันด้วยเส้นประสาทที่วนรอบลำตัวแบบวงแหวน ( nerve ring )



กุ้ง หอย แมลง ไส้เดือน มีปมประสาทใหญ่ขึ้น ทำหน้าที่เป็นสมองอยู่ที่หัวมีปมประสาทตามปล้องของลำตัว และมีเส้นประสาทเชื่อมต่อปมประสาทที่มีอยู่ตามปล้องแมลง มีปมประสาทหลายปมเรียงตัวตามแนวยาวของลำตัวทางด้านท้อง


ที่มา : เนื้อหาจากหนังสือ ชีววิทยา เล่ม 3 ของ สสวท